เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลา 0830 – 1600 น. ณ ห้องประชุมซี ชั้น 7 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร

สัมมนาทางวิชาการเรื่อง "วาระนโยบายแรงงานข้ามชาติของประเทศไทย"

วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ณ ห้องประชุมซี ชั้น 7 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร

 

หลักการและเหตุผล

                การย้ายถิ่นฐานของประชากรระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สืบเนื่องจากความสัมพันธ์ทางสังคมของประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมือง ได้มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนย้ายของคนเข้าสู่และออกจากประเทศไทย การค้าตามชายแดนและการลงทุน ความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ในพม่า และความแตกต่างของระดับการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จึงเป็นพลังขับดันก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงาน ความไม่สอดคล้องกันของนโยบายการเคลื่อนย้ายแรงงาน วิธีการที่เข้มงวดต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน และอุปสรรคในการปฎิบัติตามบันทึกความเข้าใจในการจ้างงานระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเป็นจำนวนมากรวมทั้งการค้ามนุษย์

                การศึกษาจำนวนมากได้ชี้ให้เห็นว่า มาตรการทางนโยบายที่รัฐบาลไทยใช้ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายแรงงาน เช่น การอนุญาตให้แรงงานอยู่ทำงานได้ชั่วคราว และการเข้มงวดตรวจตราบริเวณชายแดน ล้วนแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ในการสกัดกั้นการลักลอบเข้ามาของแรงงานที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ น่าจะมีแรงงานที่นำเข้าอย่างถูกกฎหมายหรือได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้วส่วนหนึ่ง ต้องตกอยู่ในสภาพที่เป็นแรงงานที่ผิดกฎหมาย อันเนื่องมาจากนโยบายที่เข้มงวดไม่ยืดหยุ่นของไทย ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายแรงงานข้ามชาติของไทย มักจะตั้งอยู่บนสายตาของความมั่นคงมากกว่าการผสมผสานกันระหว่างความมั่นคงของชาติกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงการพิจารณาผลได้ทางเศรษฐกิจจากแรงงานข้ามชาติ และการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติ

                จากการจดทะเบียนแรงงานใหม่และแรงงานข้ามชาติเดิมเมื่อเร็วๆนี้ แสดงให้เห็นว่ามีแรงงานจำนวน 1,310,000 คน มาจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย โดยเป็นแรงงานพม่าจำนวน 1,076,110 คน (82%) ตามด้วยแรงงานจากกัมพูชาจำนวน 124,174 คน (10%) และแรงงานจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำนวน 110,406 คน (8%) ได้มีการประมาณการณ์ถึงจำนวนแรงงานข้ามชาติทั้งที่ถูกและผิดกฎหมายจาก 3 ประเทศเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยถึงจำนวน 2 ล้าน ถึง 2.5 ล้านคน แรงงานเหล่านี้ต้องทำงานประเภทเสี่ยงอันตราย สกปรก และแสนลำบาก เพื่อแลกกับค่าแรงงานซึ่งมักจะต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย

                จากการศึกษาเรื่องคุณูปการของแรงงานข้ามชาติต่อประเทศไทยโดย ดร. ฟิลิป มาร์ติน ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในปี 2550 ได้ประมาณการณ์ว่าแรงงานข้ามชาติได้สร้างผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในประเทศไทยจำนวน 1.25% หรือเทียบเท่ากับ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ณ ราคาปัจจุบัน หรือ 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ณ ราคาคงที่ในปี 2543 การศึกษาที่คล้ายๆ กันนี้ยังได้พบว่า แรงงานข้ามชาติก่อให้เกิดผลประโยชน์ (ผลประโยชน์ต่อทุนลบผลสูญเสียของแรงงาน) ต่อประเทศไทย จำนวน 1.7 พันล้านบาท ในปี 2550 ณ ราคาคงที่ปี 2531

                เมื่อเร็วๆ นี้ฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐอเมริกาได้เสนอให้รัฐสภารับรองกฎหมาย The Customs Facilitation and Trade Enforcement Reauthorization Act ซึ่งกำหนดห้ามการนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และแรงงานจากการค้ามนุษย์ ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้จะทำให้สหรัฐอเมริกา เพิ่มความเข้มงวดกับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศรวมถึงประเทศไทย ได้มีประเทศคู่ค้าของไทยหลายประเทศได้นำประเด็นแรงงานมาเป็นเงื่อนไขทางการค้า ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงานในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกของประเทศต่างๆ เช่น บทความในหนังสือพิมพ์ The Washington Post กล่าวหาว่ากุ้งจากประเทศไทยผลิตโดยใช้แรงงานเด็ก และแรงงานที่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้น จากรายงานการค้ามนุษย์ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้จัดทำเป็นประจำทุกปี ได้กล่าวถึงแรงงานอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพม่าได้ถูกนำมาบังคับใช้แรงงานในธุรกิจประมง และอาหารแปรรูปจากสัตว์ทะเล และในกลุ่มนี้มีแรงงานเด็กรวมอยู่ด้วย 

จากการคาดการณ์ว่ากฎหมายฉบับนี้จะผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา กระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ จึงร้องขอให้ประเทศไทยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงานและสภาพการทำงานของแรงงานของไทยและแรงงานต่างด้าวในภาคอุตสาหกรรมแช่แข็งทะเล ซึ่งเป็นสาขาที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯได้กล่าวหาว่ามีการแสวง หาประโยชน์จากแรงงานในประเทศไทย

ภาคีองค์การสหประชาชาติในประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นการเคลื่อนย้ายของประชากรในภูมิภาค เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.. 2552 ภาคีองค์การสหประชาชาติระดับประเทศร่วมกับกระทรวงแรงงานไทยได้จัดสัมมนาว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนา ในหัวข้อการเคลื่อนย้ายของประชากรระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายอย่างมีบูรณาการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายของประชากรระหว่างประเทศ ซึ่งการประชุมนี้ได้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย องค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ กลุ่มประชาสังคม นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งที่ประชุมได้เสนอข้อสรุปหลักต่อรัฐบาลไทย ดังต่อไปนี้

1) ใช้เครื่องมือของอนุสัญญาระหว่างประเทศและของภูมิภาค ในการพัฒนานโยบายการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างประเทศ และการปฎิบัติที่สอดคล้องกับข้อผูกพันที่ประเทศได้ทำไว้

2) สร้างความตระหนักแก่แรงงานข้ามชาติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน สิทธิมนุษยชน และโอกาสในการทำงาน รวมทั้งการยกระดับฝีมือแรงงานและการเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน

3) พิจารณาขยายขอบข่ายของบริการอนามัย และการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลสำหรับแรงงานต่างด้าว และการบูรณาการทางสังคม

4) ทบทวนกระบวนการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานพม่าโดยปรับปรุงให้สะดวกขึ้น ราคาต่ำ และโปร่งใส ขยายกรอบเวลาแสดงความจำนงเพื่อการพิสูจน์สัญชาติ พิจารณาถึงนัยยะของสิทธิ และความปลอดภัยของแรงงานจากการเข้าร่วมพิสูจน์สัญชาติ

5) จัดทำแผนระยะยาวเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติและนำนโยบายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติเข้าบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11

6) ขยายความเชื่อมโยงกันระหว่างการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี และการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศที่จัดส่งและประเทศที่นำเข้าแรงงาน

7) จัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรเฉพาะที่รับผิดชอบประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาและกำกับแผนนโยบายเคลื่อนย้ายถิ่นของคนและแรงงานระหว่างประเทศ ตลอดจนกำหนดให้การเคลื่อนย้ายถิ่นของประชากรระหว่างประเทศเป็นวาระแห่งชาติ

ดังนั้น เพื่อให้เกิดการระดมความคิดเห็นต่อแนวทางการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคและในประเทศไทย และสืบเนื่องต่อการสัมมนาว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนา ในหัวข้อการเคลื่อนย้ายของประชากรระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา จัดโดย UN ประจำประเทศไทยร่วมกับกระทรวงแรงงาน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กระทรวงแรงงาน และเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group) จึงได้จัดเวทีสัมมนาเชิงวิชาการ เพื่อระดมความคิดเห็นว่าด้วยนโยบายแรงงานข้ามชาติของประเทศไทย และแนวทางการจัดการแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย โดยมีประเด็นที่จะสัมมนาในสามประเด็นหลักคือ แนวทางการจัดการหลังสิ้นสุดการผ่อนผันหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.. 2553 กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ แนวทางการจัดการการจ้างแรงงานข้ามชาติตามพระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว พ.. 2551 และแนวทางการพัฒนานโยบายแรงงานข้ามชาติ ระยะยาว เพื่อนำไปพิจารณาโดยผู้เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ

 

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้จัดทำนโยบาย นักวางแผน และผู้ปฏิบัติงานได้ทราบถึง

1.    แนวนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างยั่งยืนสำหรับประเทศไทย

2.    ข้อเสนอแนะสำหรับจัดการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติที่มีประสิทธิภาพ

3.    ธรรมาภิบาลในการจัดการแรงงานข้ามชาติของประเทศไทย

 

กลุ่มเป้าหมาย

                องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรเอกชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 70-80 คน

 

วันเวลา และสถานที่

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.. 2553 เวลา 0830 1600 น. ณ ห้องประชุมซี ชั้น 7 โรงแรมอมารี  วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร

 

 

ประเด็นสำหรับการสัมมนา

1.       วาระนโยบายแรงงานข้ามชาติของประเทศไทย

2.       แนวทางการจัดการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และปลอดภัย

3.       แนวนโยบาย การบริหารแรงงานข้ามชาติ และการจ้างแรงงานข้ามชาติในอนาคต

แนวทางการจัดการในระยะสั้น

·       แนวทางการการดำเนินการในกรณีที่การพิสูจน์สัญชาติ

·       การผ่อนผันให้แก่แรงงานข้ามชาติที่ยังไม่สามารถดำเนินการพิสูจน์สัญชาติได้

·       การดำเนินการต่อแรงงานข้ามชาติที่กลายเป็นคนไร้สัญชาติ หลังการพิสูจน์สัญชาติไม่ผ่าน

·       แนวทางการบริหารจัดการการจ้างงานพื้นที่ชายแดน และรูปแบบลักษณะของการจ้างงาน

แนวนโยบายในระยะยาว

·       กรอบแนวคิดในแง่ของการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างยั่งยืน

·       การปฏิรูปกฏหมายและกฏระเบียบ การจัดการแรงงานข้ามชาติและคนเข้าเมือง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



--
โปรดอ่านBlog
http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=920
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=porpayia&month=12-2009&date=07&group=10&gblog=69
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=auntymod
http://www.bloggang.com/index.php?category=20
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=praewkwun&month=10-12-2009&group=27&gblog=15 นาฬิกา+ปฎิทิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก